PLCLINK รูปแบบการสื่อสารระหว่างกันของ PLC WECON

Last updated: 20 เม.ย 2568  |  14 จำนวนผู้เข้าชม  | 

WECON PLC Link Function


PLCLINK Function รูปแบบการสื่อสารที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับ PLC WECON

 

รู้หรือไม่ ? PLC WECON มี Protocol รูปแบบการสื่อสารเฉพาะตัวที่ออกแบบมาเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลกับ PLC WECON ทีละมากๆ อย่างฟังก์ชั่น PLCLINK หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบและคงเคยสงสัยว่า PLC WECON นั้นมีรูปแบบการลิ้งข้อมูลระหว่างกันเองหรือเปล่านะ ? คำตอบก็คือ มี! และ PLCLINK ก็เป็นหนึ่งในนั้น บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักและการตั้งค่าเบื้องต้นกัน

 

 

ก่อนอื่นเลยเราต้องมาทราบวัตถุประสงค์กันก่อน แน่นอนแหละหากท่านเป็นผู้ใช้งาน PLC แบรนด์หลักแบรนด์ดังมาก่อนแต่ละยี่ห้อแต่ละแบรนด์ล้วนมีโปรโตคอลและมาตรฐานการสื่อสารเป็นของตัวเอง เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นง่ายมากขึ้นในการออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงงานหรือการผลิตได้อย่างยืดหยุ่น ในกรณีที่จะต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลกันระหว่าง PLC มากกว่า 1-2 ตัวขึ้นไป ซึ่งข้อมูลจำนวนมากพร้อมกับความรวดเร็วในการรับส่งและประมวลผลเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานคำนึงถึง ดังนั้นแล้ว WECON เองก็มีการออกแบบรูปแบบโปรโตคอลเน็ตเวิร์คของตนเองเช่นกัน นั่นคือ PLCLINK Function

จุดเด่นและข้อได้เปรียบ

  • ออกแบบมาให้ง่ายในการเชื่อมต่อข้อมูลกันระหว่าง PLC WECON 
  • การตั้งค่าง่ายเป็นการตั้งค่าผ่าน Software UI โดยการคลิก ไม่มีการเขียน Ladder Program ในการใช้งานก็สามารถส่งผ่านข้อมูลได้
  • รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือในการใช้งาน ทำให้การออกแบบและทดสอบระบบรวดเร็วมากขึ้น
  • รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง PLC WECON สูงสุดถึง 32 node

โดยปกติแล้วคนที่เคยใช้อาจจะคุ้นชินกับการสื่อสารด้วยรูปแบบ RS485 Modbus Protocol ซึ่ง PLC WECON พอร์ตสื่อสารก็จะมีรูปแบบ RS422 mini din 8 pin กับ RS485 เป็นหลักซึ่งหากใช้ Modbus Protocol ในการสื่อสารกันเองนั้นก็ได้เหมือนกัน ซึ่งก็จะใช้ชุดคำสั่ง RS Instruction เป็นหลักในการเขียนจัดการรับส่งข้อมูล อีกทั้งการออกแบบโปรแกรมก็จะต้องมีการจัดลำดับการรับส่งข้อมูลในแต่ละ Slave ที่ต้องส่งไปไม่ให้ทำงานซับซ้อนกันด้วย ไหนจะต้องมานั่ง Mapping Address จาก Address หลักของ PLC เป็น Modbus Register ทำให้ผู้ที่จะใช้วิธีนี้อาจจะต้องมีพื้นฐานการออกแบบโปรแกรมมาพอสมควร แต่บทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีที่ง่ายกว่านั้นมาก โดยไม่ต้องใช้ Ladder สักบรรทัด

 

รูปแบบการเขียนคำสั่ง RS หรือ RS2 ในการกำหนดการรับส่งข้อมูล RS485 Modbus RTU

 

Protocol ที่ใช้สื่อสารกันระหว่าง PLC ของ WECON เองนั้นจริงๆ ก็มีมานานแล้วตั้งแต่สมัย LX3V ก็มีแล้วนั่นคือ N:N network ซึ่งมันก็จะออกแบบมาในยุคแรกและใช้งานกับ PLC LX3V Series เท่านั้น และรองรับการเชื่อมต่อ PLC สูงสุดเพียงแค่ 8 ตัว น้อยกว่า PLCLINK ถึง 3 เท่า และยังไม่หยืดหยุ่นเท่าไรในการใช้งานเพราะมันมีการกำหนด Address ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลแบบตายตัวนั่นเอง รูปแบบนี้ไว้มาเล่าแยกเป็นอีกบทความให้อีกที

 

รูปแบบการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่าง PLC WECON N:N NETWORK

 

แต่บทความนี้นี้เราจะมาเล่าถึงรูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ที่เรียกว่า PLCLINK ซึ่งจะใช้ได้กับ PLC LX5V/5S เท่านั้นนะ หากดูรายละเอียดจริงๆ แล้วก็มีพื้นฐานมาจาก N:N network นั่นแหละเพียงแต่ปรับประสิทธิภาพและง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเราจะมาสรุปและอธิบายสั้นๆ แบบกระชับ 

 

NETWORK DIAGRAM

เริ่มที่การเชื่อมต่อรูปแบบการสื่อสารจะยังคงเป็น RS485 2wire mode ที่จะเชื่อมต่อกันแบบ Multi-drop bus รองรับการเชื่อมต่อ PLC สูงสุด 32 node รวม Master station โดยจะมีการกำหนด Master Station และ Slave station ที่มีการกำหนดแอดเดรสไม่ซ้ำกันคล้ายการสื่อสารแบบ Modbus Protocol โดยตัว Master จะเป็นตัวที่จัดการควบคุมการสื่อสารข้อมูลทั้งหมด แต่ PLCLINK จะมีการ Mapping address data ด้วยตารางที่กำหนดขึ้นใน Master station เลย

ในส่วนของการเชื่อมต่อ Master station จะต่อได้เฉพาะพอร์ต COM2 เท่านั้นที่รองรับ PLCLINK protocol และในส่วนของ Slave station จะต่อที่พอร์ต COM1 หรือ COM2 ก็ได้เพราะจะกำหนดรูปแบบเป็น Dedicated protocol

 

รูปแบบการเชื่อมต่อ PLCLINK NETWORK ระหว่าง PLC WECON LX5 Series

 

1. Master station setting

ให้ผู้ใช้งานตั้งค่าพารามิเตอร์ที่ PLC Master โดยจะกำหนดที่ COM2 ให้ผู้ใช้งานตั้งค่าพารามิเตอร์สื่อสารและกำหนด Protocol เป็น PLCLINK

โดยให้เปิดโปรแกรม PLC Editor 2 และสร้างโปรเจคท์สำหรับ Master station จากนั้นที่แถบ Project menagement ทางด้านซ้ายมือ ในส่วนของ Parameter ให้กดดับเบิ้ลคลิกไปที่ PLC Parameter > COM2 settings กำหนด Protocol เป็น PLCLINK และพารามิเตอร์สื่อสารอื่นสามารถใช้ค่า Default ได้เลย

 

ขั้นตอนที่ 1 กำหนด Communication Protocol ที่ Master station ให้เป็น PLCLINK

 

2. Slave station setting

ตั้งค่าพารามิเตอร์ที่ PLC Slave โดยจะกำหนดที่ COM1 หรือ COM2 ก็ได้ ให้ผู้ใช้งานตั้งค่าพารามิเตอร์สื่อสารและจะต้องตรงกันกับ Master Station ในส่วนของ Protocol จะกำหนดเป็น Dedicated protocol และจะต้องตั้งค่า Station number ด้วยห้ามซ้ำกันสำหรับ PLC Slave

โดยให้เปิดโปรแกรม PLC Editor 2 และสร้างโปรเจคท์สำหรับ Slave station จากนั้นที่แถบ Project menagement ทางด้านซ้ายมือ ในส่วนของ Parameter ให้กดดับเบิ้ลคลิกไปที่ PLC Parameter > COM1/2 settings กำหนด Protocol เป็น Dedicated protocol และพารามิเตอร์สื่อสารอื่นสามารถใช้ค่า Default ได้เลย และในส่วนของ Station number ด้านล่างอย่าลืมกำหนดแอดเดรสของ Slave แต่ละสเตชั่นด้วยนะจ๊ะ

 

ขั้นตอนที่ 2 กำหนด Communication Protocol ที่ Slave station ให้เป็น Dedicated protocol

 

3. Create PLCLINK Table

ในส่วนขั้นตอนต่อจากนี้ไปก็จะเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็นการกำหนดการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันด้วยการสร้าง PLCLINK Table ซึ่งจะจัดการบนโปรเจคท์ของ Master Station เพียงอย่างเดียว

ให้ผู้ใช้งานไปสร้าง PLCLINK Table ที่ฝั่งโปรเจค Master Station ซึ่งจะอยู่ในแถบ Project management > Extended function > คลิกขวาที่ PLCLINK และ New table

 

ขั้นตอนที่ 3 สร้าง PLCLINK Table ที่โปรเจคท์ไฟล์ของ Master Station

 

 4. Setting PLCLINK Table

ในส่วนนี้ให้ผู้ใช้กด New command เพื่อสร้างและจัดการ Mapping address จาก Station address ต่างๆหากันได้อย่างอิสระ ซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบได้ทั้ง Read/Write จะเป็นเสมือนการสร้าง Mapping table ซึ่งสะดวกมากและไม่ต้องเขียน Ladder สักบรรทัด อยากจะเอาข้อมูล Address ไหน Read หรือ Write ไปยัง PLC ตัวไหนสามารถกำหนดเองได้เลย Easy Bro!!!

โดยเราสามารถที่จะกำหนด Bit address M,X,Y หรือ Word address D,R  Special Register อย่าง SM , SD จะเป็น Timer Counter ได้หมดเลย จะมีให้เราเลือกในรายการทั้งหมด และเรายังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลผ่านกันแบบ Batch จำนวนหลายๆแอดเดรสใน Command เดียวหลายๆ Length ของข้อมูลโดยการกำหนดที่ส่วนของ Number of devices ได้เลย และจะให้ไปที่ Slave Address ไหนก็ได้หรือจะรับมาที่ Master ก็ได้ซึ่งมันหยืดหยุ่นสุดๆ ไปเลย

 

ขั้นตอนที่ 4 กำหนด PLCLINK Command ในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง Slave Station

 

5. Download program and parameter

จากนั้นทำการดาวน์โหลดโปรแกรมและพารามิเตอร์ทั้งหมดลงไปที่ PLC Master และ PLC Slave แต่ละ Station ที่เรากำหนดไว้ เน้นย้ำว่าจะต้องโหลดพารามิเตอร์ลงไปด้วยนาจา โหลดแต่ Program ไม่ได้นาจา
จะเห็นว่าง่ายมากๆ ไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถที่จะนำ PLC WECON มาสื่อสารกันเองได้โดยไม่ต้องเขียนคำสั่ง Ladder ควบคุมให้ปวดหัว

 

ขั้นตอนที่ 5 ดาวน์โหลดโปรแกรมและพารามิเตอร์ไปที่ Master และ Slave station

 

หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อ Technical support เราเพื่อสอบถามข้อมูลหรือต้องการฝึกอบรมการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของทาง WECON ท่านสามารถติดต่อเราได้ตามรายละเอียดที่อยู่ด้านล่างนี้

 

เนื้อหาและรูปภาพในบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของทางบริษัท อีเอสโอ เทค จำกัด ไม่อนุญาตให้ทำการแก้ไขดัดแปลงทำซ้ำเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้รับการอนุญาต

 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่
บริษัท อีเอสโอ เทค จำกัด ตัวแทนจำหน่ายสินค้าแบรนด์ WECON

   https://www.eso.co.th/
   info@eso.co.th
   097-253-2728 , 096-854-9256
   Line official : @eso.co.th
   Instagram : https://www.instagram.com/eso.co.th/

   Facebook : https://www.facebook.com/eso.co.th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้