PLC WECON มีรุ่นและซีรี่ย์ใดบ้างเราจะเลือกใช้งานให้เหมาะสมอย่างไร?

Last updated: 14 มิ.ย. 2567  |  651 จำนวนผู้เข้าชม  | 

How to select wecon plc article cover

PLC WECON มีรุ่นและซีรี่ย์ใดบ้างเราจะเลือกใช้งานให้เหมาะสมอย่างไร?

(How to select wecon plc and apply to our applications)

บทความนี้ทาง อีเอสโอ เทค จะมาช่วยแนะนำซีรี่ย์และรุ่นต่างๆของ PLC WECON ในปัจจุบันว่ามีการทำตลาดและแนะนำเป็นรุ่นใดบ้าง ซึ่งมือใหม่หลายท่านที่กำลังมองหา PLC แบรนด์ทางเลือกที่ใช้งานในอุตสาหกรรมแล้วอยากเริ่มต้นทดลองใช้งานก็อาจจะยังมีความงงและสับสนว่าจะเริ่มต้นใช้งานจากซีรี่ย์ใดรุ่นใดดี โดยทางเราจะมาไล่เรียงและขอแนะนำเฉพาะรุ่นที่ผลิตและทำตลาดในปัจจุบัน (2024) และนิยมเล่นหากัน

โดย ณ ปัจจุบันเราแบ่ง PLC WECON ออกเป็นซีรี่ยหลักดังนี้

1.LX1V Series

ภาพ PLC WECON LX1V Series

โดย PLC WECON LX1V Series จัดได้ว่าเป็น PLC รุ่นที่ถูกที่สุดของ WECON PLC ณ ปัจจุบัน โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2,xxx - 4,xxx บาท ขึ้นกับจำนวน IO และสัญญาณอนาล็อกที่ต้องการ โดยสิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องทราบคือ PLC รุ่นนี้ไม่สามารถเพิ่มขยายโมดูลได้ ซึ่ง LX1V ได้ถูกออกแบบมาเป็น PLC ขนาดเล็กใช้สำหรับงานทั่วไปที่ลูกค้าต้องการเปลี่ยนจากวงจรรีเลย์ง่ายๆมาใช้ PLC เช่น วงจรควบคุมการทำงานปั้มน้ำ โดยข้อควรระวังคือ PLC LX1V จะไม่มี Real time clock built-in มาให้!! ซึ่ง PLC รุ่นนี้เหมาะมากๆกับการไปใช้ในงานสมาร์ทฟาร์มเนื่องจากมีราคาที่ถูก

ซึ่ง PLC LX1V Series มีพอร์ตดาวน์โหลดโปรแกรมด้วย USB Type C  ซึ่งออกแบบมาสำหรับยุคสมัยใหม่ที่สาย USB Type C เป็นที่นิยมและจัดหาได้ง่าย

ภาพแสดงพอร์ต USB C สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม LX1V

โดย PLC LX1V ทาง WECON เองได้มองถึงตลาดสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือเริ่มต้นฝึกใช้งาน PLC เพื่อให้เห็นภาพหากเทียบกับแบรนด์ในท้องตลาดแล้วจะเทียบได้กับ smart relay Zelio Logic ของทางชไนเดอร์ อิเล็คทริค หรือ SIEMENS LOGO! จากทางซีเมนส์ ซึ่งก็จะมีรายละเอียดฟังก์ชั่นการใช้งานและจุดเด่นของแต่ละค่ายแตกต่างกันไป 

                                                                     

ภาพแสดง SIEMENS LOGO! และ smart relay Zelio Logic

โดย LX1V ประกอบไปด้วยรุ่นย่อยให้เลือกหาดังนี้
- LX1V-0806MR-D  รองรับการใช้งาน 8xDI , 6xDO(Relay) , 1xRS485
- LX1V-1208MR-D  รองรับการใช้งาน 12xDI , 8xDO(Relay) , 1xRS485
- LX1V-1212MR-D  รองรับการใช้งาน 12xDI , 12xDO(Relay) , 1xRS485
- LX1V-1212MR2ADI2DAI-D รองรับการใช้งาน 12xDI , 12xDO(Relay) , 2xAI (4-20mA) , 2xAI (4-20mA), 1xRS485
- LX1V-1212MR2ADV2DAV-D รองรับการใช้งาน 12xDI , 12xDO(Relay) , 2xAI (-10..10V) , 2xAI (-10..10V), 1xRS485
โดยรุ่นที่มีสัญญาณอนาล็อกอินพุตและเอาท์พุตให้ใช้งานนั้นทาง WECON จะ Built-in on board มาเลย
ซอฟท์แวร์ที่ใช้พัฒนาโปรแกรม : WECON PLC Editor version 1 ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลด Software WECON PLC Editor version 2 ใช้งานได้ซึ่งในโปรแกรมจะฝังตัว WECON PLC Editor version 1 มาให้แล้วโดยสามารถกดไปที่ปุ่ม Start 3V
 
ภาพแสดงปุ่มสำหรับเปิดโปรแกรม WECON PLC Editor 1 ใน WECON PLC Editor 2
 
การประยุกต์ใช้งาน
- เหมาะสำหรับผู้อยากเปลี่ยนจากการใช้งานบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์มาใช้งาน PLC อุตสาหกรรม
- งานควบคุมขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัด
- งานควบคุมสมาร์ทฟาร์ม , ควบคุมการทำงานปั้มน้ำ
- งานควบคุมขนาดเล็กที่ต้องการลดการใช้งานวงจรรีเลย์และไทม์เมอร์รีเลย์
 
2. LX3V/LX3VP Series
 
ภาพ PLC WECON LX3V Series
 
PLC LX3V/LX3VP Series ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ผลิตและพัฒนามาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าเป็นรุ่นอเนกประสงค์ครอบคลุมจักรวาลสำหรับงานควบคุมขนาดเล็กจนไปถึงขนาดกลาง ซึ่ง PLC LX3V/LX3VP หลายท่านที่เคยได้ใช้งานก็คงอาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี ราคาจับต้องได้ ความทนทานและประสิทธิภาพได้รับการพิสูจน์มาอย่างยาวนาน
ซึ่ง PLC LX3V/LX3VP Series นั้นก็จะมีความแตกต่างทางสเปคของฮาร์ดแวร์และฟังก์ชั่นบางอย่างที่ถูกจำกัดไว้ ซึ่งผู้เขียนจะทำสรุปตารางเปรียบเทียบให้ได้ทราบต่อไป แต่จากประสบการณ์และมุมมองของผู้เขียนหากผู้ใช้งานใหม่ต้องการเลือกใช้รุ่นและซี่รี่ยนี้ให้เลือกใช้งานรุ่น LX3VP ไปเลยด้วยเหตุผลดังนี้
- ราคาใกล้เคียงกันมากๆ
- LX3V ไม่สามารถประมวลผลค่าหรือคำนวณใช้ชุดคำสั่งเกี่ยวกับตัวแปรประเภท Floating point ได้ !!!!
- LX3V รองรับจำนวนสเต็บคำสั่งเพียงแค่ 16K แต่ LX3VP นั้นสามารถทำจำนวนสเต็บโปรแกรมได้ถึง 64K
จากเหตุผลที่กล่าวมาก็อาจจะทำให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการขยับไปเล่น LX3VP เลยดีกว่า
 
ภาพเปรียบเทียบฟังก์ชั่นระหว่าง LX3V และ LX3VP
 
ซึ่ง PLC LX3V/LX3VP นั้นรองรับการต่อขยายโมดูล (Expansion module) รองรับการขยายโมดูลได้ถึง 16 โมดูล ซึ่ง CPU บางรุ่นอาจจะต้องใช้โปรแกรมคำนวณจำนวนการขยายของโมดูลเพิ่มเติมเนื่องจากแต่ละ CPU จะมีอัตราการจ่ายกำลังไฟฟ้าให้โมดูลขยายที่ต่างกัน โดยเฉพาะโมดูลแบบดิจิตอลอินพุต/เอาท์พุตซึ่งใช้แหล่งจ่ายไฟจาก Backplane ของ CPU จะแตกต่างกับโมดูลอนาล็อกที่ใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอกต่อได้ ซึ่งหากไม่แน่ใจสามารถติดต่อ Technical support เพื่อความแน่ใจได้ และสามารถเพิ่ม BD Board ปลั้กที่ด้านบนของ PLC ได้
ข้อควรระวัง : CPU ที่มีขนาด 12xDI / 12xDO ขึ้นไปเท่านั้นจึงจะขยายโมดูลเพิ่มได้ตัวอย่างเช่น LX3VP-1212MR-X ขึ้นไปเป็นต้น และ CPU ที่มีขนาด 16xDI / 16xDO ขึ้นไปจะสามารถเพิ่ม BD Board ด้านบน CPU ได้ 2บอร์ด ต่ำกว่านั้นจะได้เพียง 1 BD Board
 
ภาพแสดงการต่อขยายโมดูลและ BD Board
 
โดย PLC LX3V Series มีพอร์ตดาวน์โหลดโปรแกรมด้วย Micro USB  เนื่องจากพัฒนามานานก่อนยุคสมัยของ USB Type C จะเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดย PLC LX3V Series มีรุ่นให้เลือกตั้งแต่ขนาด 12xDI/8xDO จนไปถึง 36xDI/24xDO
ทาง WECON ได้วาง PLC LX3V Series จะเทียบเท่ากับแบรนด์ในตลาดอย่าง PLC Mitsubishi FX3 Series ซึ่งทำให้ผู้ที่กำลังมองหาสามารถที่จะพิจารณาและเทียบหาให้เหมาะกับงานได้
 
ภาพแสดงการเปรียบเทียบระหว่าง PLC LX3V และ FX3 Series
 
 ซอฟท์แวร์ที่ใช้พัฒนาโปรแกรม : WECON PLC Editor version 1  ท่านสามารถโหลดโปรแกรม PLC Editor 1 ได้ที่นี่
การประยุกต์ใช้งาน
- เหมาะสำหรับระบบควบคุมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
- งานควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงาน
- ผู้ผลิตเครื่องจักร สร้างระบบควบคุมเครื่องจักรซึ่ง PLC LX3V Series ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มราคาที่ไม่แพงลดต้นทุนได้

 
3.PLC LX5S/LX5V 
 
ภาพแสดงรายละเอียดเปรียบเทียบระหว่าง PLC LX5S และ LX5V
 
PLC LX5 Series นับเป็นซีรี่ยล่าสุดของทาง WECON สำหรับ PLC แบบ Compact Type โดยเปิดตัวเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเป็นรุ่น High performance สูงสุด ณ ขณะนี้ เป็นรุ่นเรือธงสำหรับ PLC Compact type โดยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากรุ่น LX3V Series ซึ่งตัวเฟรมบอดี้ใช้เฟรมเดิมของทาง LX3V Series แต่มีการปรับปรุงรายละเอียดทางด้านชิพเซ็ตและซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ
โดย PLC LX5V และ LX5S มีความเร็ว CPU ที่สูงกว่า LX3V เดิมและมีการเปิดตัวใช้งานซอฟท์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นั่นคือ Wecon PLC Editor 2 ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก Wecon PLC Editor 1 แต่มีการเพิ่มรายละเอียดฟีเจอร์หลายๆอย่างที่ทำให้สะดวกขึ้น และตัวอินเตอร์เฟส UI โปรแกรมน่าใช้กว่าเดิมโดยได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานจริงหลายๆ ท่าน แต่สิ่งหนึ่งที่ตัวผู้เขียนเองไม่ชอบคือ PLC Editor 2 ยังไม่สามารถทำ Offline simulator ในโปรแกรมได้ !!!!!!! ซึ่งทางผู้เขียนเองก็ได้มีการคอมเม้นกลับไปทาง Wecon ซึ่งทางทีมพัฒนาเองก็ได้แจ้งกลับมาว่ากำลังอยู่ในช่วงพัฒนาฟีเจอร์นี้ ขอให้ผู้ใช้งานไม่ต้องห่วงว่าอนาคตมีแน่นอน ฮ่าๆ อดใจรอกันนิดนึง
 
WECON PLC Editor 2 Software
 
ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกเพิ่มเข้ามาในซีรี่ย์ LX5 คือการที่ PLC สามารถสั่งรุ่นที่ Built-in Ethernet port มาให้ได้เลยโดยรหัสจะลงท้ายด้วยตัวรหัส N (ในบทความต่อไปเราจะมาแนะนำวิธีการดูรหัสและเลือกรุ่นของ PLC WECON) ซึ่งเป็นที่ถูกอกถูกใจผู้เขียนและผู้ที่ใช้งาน PLC WECON อยู่แล้วมากเนื่องจาก
- ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลด อัพโหลดโปรแกรมผ่าน Ethernet port ด้วยสาย LAN ได้ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อผ่าน Ethernet Network กันหมดแล้ว ก็จะง่ายในการ Debug และ Programming ผ่านเน็ตเวิร์คโดยที่ไม่ต้องเข้าไปเสียบสาย USB แบบเดิมที่ทำกันมา
- Ethernet Port รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Protocol Modbus TCP/IP และ Wecon Protocol ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการจะสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์ Third Party Devices ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องซื้อ Ethernet BD Board ของ WECON มาเพิ่มเติม
- การที่มี Ethernet Port ทำให้อุปกรณ์ของ WECON เช่น HMI / V-Box สามารถใช้สาย Ethernet Cable เชื่อมต่อข้อมูลกับ PLC ได้ง่ายขึ้นและอ่านเขียนข้อมูลจากหลายๆ PLC ได้ง่าย
เมื่อผู้อ่านได้อ่านมาถึงตรงนี้ก็พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับว่า LX5 Series นั้นได้ปรับปรุงและพัฒนามาดีขึ้นพอสมควร
 
ภาพแสดง Ethernet Port ที่ Built-in บน CPU WECON PLC
 
 
โดยที่ LX5S และ LX5V จะแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยและใช้ถูกวางให้นำไปใช้งานที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยที่เราจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่แยกแยะระหว่าง LX5S และ LX5V คือตัวบอดี้พลาสติกครอบส่วนแสดงผลสถานะ LED อินพุตและเอาท์พุตของ LX5V จะเป็นสีดำ และส่วนของ LX5S คือไม่มีอะไรแตกต่างจากรุ่น LX3V เลย ซึ่งเมื่อหลายๆ ท่านได้เห็นบอดี้ของตัว LX5V แล้วก็จะคล้ายๆกับ PLC Mitsubishi FX5U ใช่แล้วครับ LX5S และ LX5V ถูกวางมาเพื่อเป็นทางเลือกในตลาดเทียบเท่าให้เห็นภาพง่ายๆ กับ PLC Mitsubishi FX5U
 
ภาพแสดงเปรียบเทียบ PLC Mitsubishi FX5U
 
ซึ่งจริงๆ แล้ว PLC LX5V และ LX5S Series ได้สร้างมาเพื่อทดแทน PLC LX3VE/LX3VM เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจากเดิม โดยยังมีสิ่งอื่นๆ ที่จะชี้ชัดให้เห็นอีกในเรื่องของความแตกต่างระหว่าง LX5S และ LX5V คือ
- LX5S สามารถเลือกประเภทของดิจิตอลเอาท์พุตแบบรีเลย์ และ ทรานซิสเตอร์ แต่LX5V นั้นจะเลือกได้เฉพาะชนิดเอาท์พุตแบบทรานซิสเตอร์เท่านั้น
- LX5V มีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่า LX5S เล็กน้อยที่ 0.01-0.03 ไมโครวินาที ส่วน LX5S นั้นอยู่ที่ 0.03-0.08 ไมโครวินาที
- LX5V มี High Speed Pulse Output มาให้มากกว่าซีรี่ย์อื่นๆ โดยรุ่น 1412MT จะเริ่มที่ 4 แชนแนลควบคุมเซอร์โวมอเตอร์หรือสเต็บปิ้งมอเตอร์ได้ 4 แกน และถ้ารุ่น 1412MT จะเริ่มที่ 8 แชนแนล ซึ่งควบคุมได้ถึง 8 แกน
 
ภาพตัวอย่างการใช้งาน LX5V ควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ 3 แกน
 
การนำไปใช้งาน
- LX5S ในมุมมองของผู้เขียนสามารถนำไปใช้ได้ค่อนข้างอเนกประสงค์ แต่ก็แนะนำให้ใช้งานกับระบบควบคุมเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อนได้ดี มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณเนื่องจาก PLC LX5 Series ก็จะมีราคาที่สูงกว่า LX3V Series
- LX5V สามารถนำไปใช้กับระบบควบคุมกระบวนการหรือเครื่องจักรได้เช่นกัน แต่ทาง WECON ได้วาง LX5V ไว้เพื่อสำหรับควบคุมการทำงานเครื่องจักรที่ใช้เซอร์โวมอเตอร์หรือสเต็บปิ้งมอเตอร์ เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อทำงาน Motion Control โดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับงบประมาณและความพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก
หมายเหตุ : LX5S/LX5V สามารถใช้โมดูลขยาย(Expansion module) ของรุ่น LX3V Series ได้เลย
 
 ซอฟท์แวร์ที่ใช้พัฒนาโปรแกรม : WECON PLC Editor version 2  ท่านสามารถดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ PLC Editor 2 ได้ที่นี่
 
 
4. PLC LX6V/LX6S/LX6C
 
ภาพ PLC LX6V Series
 
PLC LX6V Series เป็นซี่รี่ย์ใหม่ที่เรียกได้เป็นการพัฒนาพลิกโฉมการพัฒนา PLC Controller ของ WECON ไปสู่ PLC ยุคใหม่ของทาง WECON ซึ่ง PLC LX6V เป็นรุ่นแรกในตระกูล LX6 Series ได้เปิดตัวเมื่อปี 2023 โดยนับว่าเป็น PLC ประเภท Modular รุ่นแรกของทาง WECON เองอีกด้วยซึ่ง WECON เองได้พัฒนา PLC LX6V ขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การควบคุมระดับ Enterprise ในอนาคต
 
ซึ่ง PLC LX6V นั้นมี I/O on-board เพียง 8/8 และมาพร้อมพอร์ต Ethernet สำหรับเชื่อมต่อสื่อสาร Protocol Modbus TCP/IP หรือ Wecon Protocol และอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่เพิ่มเข้ามาคือ PLC LX6V Series มีพอร์ตสำหรับ Protocol EtherCAT ซึ่งถือเป็น Field Bus Protocol หนึ่งที่เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรม โดย Wecon ได้ซื้อสิทธิ์ในการพัฒนาโปรโตคอล EtherCAT Protocol และต่อจากนี้ไป PLC Wecon ก็จะไม่ได้มีเพียง Modbus RTU หรือ Modbus TCP/IP อีกต่อไปสำหรับการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ Third Party  ในงานอุตสาหกรรม และในยุคต่อไป PLC WECON รวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่พัฒนาโดย WECON ก็จะอ้างอิงไปกับการสื่อสารแบบ EtherCAT Protocol ซึ่งตอนนี้ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทาง WECON ได้นำโปรโตคอล EtherCAT ไปใช้แล้วคือ Servo motor ทำให้เราสามารถใช้งาน PLC LX6 Series ควบคุมการทำงานของ Servo motor ได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายในการจัดการโปรแกรมมากขึ้น
 
ภาพแสดงพอร์ต EtherCAT บน PLC WECON LX6V
 
และ PLC LX6V Series ก็สามารถเพิ่มโมดูลขยายได้เหมือนทุกรุ่นก่อนหน้าที่พัฒนาขึ้นมา แต่โมดูลเองก็จะเป็นโมดูลรูปแบบใหม่เข้ากันกับ PLC LX6V ที่ได้ออกแบบปรับโฉมใหม่เฉพาะตัว ข้อดีของโมดูลแบบใหม่ก็จะมีความบางมากกว่ารุ่น LX3V/LX5 Series ถ้าหากใครเคยใช้ LX3V/LX5 Series แล้วต้องต่อโมดูลขยายจำนวน I/O  เยอะๆ ละก็ปวดหัวกับการวางแบบ Installation ตู้ควบคุมกันเลยทีเดียว  แต่ LX6V Series ก็จะมาแก้ไขปัญหานั้นได้
 
ภาพแสดงการต่อขยายโมดูลของ PLC LX6V
 
และ PLC LX6V Series ได้รองรับรูปแบบภาษาโปรแกรมมาตรฐานสากล IEC61131-3 Programming Langauge ด้วย แต่ก็ยังใช้ซอฟท์แวร์พัฒนาคือ PLC Editor 2 อยู่ มาพร้อมกับพอร์ตดาวน์โหลด/อัพโหลดโปรแกรมผ่าน USB Type C หรือ Ethernet Port ก็ได้ และมาพร้อมกับช่องใส่ SD Card สำหรับเก็บโปรแกรมหรือจัดการข้อมูลบันทึกข้อมูล ให้อารมณ์เหมือน PLC ที่เป็นแบรนด์หลักต่างๆ มาตรฐานจากยุโรป
 
PLC LX6S Series ซึ่งสำหรับซีรี่ยนี้ผู้เขียนจะไม่อธิบายมากนัก เนื่องจากทุกอย่างแทบจะเหมือน LX6V ทุกประการแต่ก็จะมีการลดทอนความสามารถและฟีเจอร์บางอย่างลงไป เพราะ WECON ได้วางรุ่น LX6S ให้เป็นรุ่น Economic ซึ่งเป็นรุ่นที่มีราคาถูกที่สุดในซี่รี่ย LX6 ซึ่งต้องยอมรับว่า PLC LX6 Series นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงพอสมควรทาง WECON จึงออกรุ่น LX6S เพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานและลูกค้าได้ลองสัมผัสกับ PLC รุ่น LX6 Series ของทาง WECON
 
ภาพแสดง PLC LX6S Series
 
PLC LX6C Series  เป็นรุ่นที่ผู้เขียนตื่นเต้นและภูมิใจนำเสนออย่างมาก เป็น PLC WECON ที่เรียกว่าสุดในรุ่น! ณ ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการประมวลผลที่เร็วถึง 0.01-0.02 ไมโครวินาที โดยรูปลักษณ์ภายนอก เสปคพื้นฐานจะเหมือนกันกับ LX6V/LX6S
 
ภาพ PLC LX6C Series
 
แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปนั่นคือ PLC LX6C นั้นได้เปลี่ยนมาใช้ Programming Software CODESYS  ซึ่งทาง WECON เองได้ซื้อสิทธิ์ในการใช้งานและพัฒนาร่วมกันกับทาง CODESYS ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะทราบถึงประสิทธิภาพและความนิยมอยู่แล้ว โดยซอฟท์แวร์ CODESYS เป็นที่นิยมในฝั่งยุโรปและมี PLC หรือ Controller หลากหลายแบรนด์ใช้ CODESYS เป็นซอฟท์แวร์โปรแกรมหลักของ PLC โดยตัวโปรแกรมจะมีความยืดหยุ่นและมีฟีเจอร์ค่อนข้างเยอะ มี Library มากมายและการพัฒนาต่อยอดในอนาคตร่วมกับ CODESYS ก็จะทำให้ PLC WECON มีฟีเจอร์ที่ร่วมสมัยและทันกับเทคโนโลยีต่างๆที่ PLC แบรนด์หลักๆ มี
 
ตัวอย่าง Interface software CODESYS
 
และอีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเติมมาให้คือ PLC LX6C รองรับการใช้งานสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน OPC UA SERVER (OPC Unified Architecture)  เรียกได้เป็นฟีเจอร์ที่เข้ากับยุคสมัยเลยทีเดียว เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุค IoT และ Data Analysis งาน Automation จะมีการเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ต่างๆ ทางด้าน IT และ Software Developper นี่ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ Enterprise software ต่างๆ จะดึงข้อมูลโดยตรงจาก PLC หรือ Process automation ได้เลย เรียกได้ว่าแจ่มสุดๆ !!!
 
 
กล่าวโดยสรุป PLC LX6 Series จะมีพื้นฐานเดียวกันซึ่งจะมี EtherCAT Protocol เพิ่มเข้ามาและ LX6C ที่เป็นรุ่นท็อปสุดที่ใช้ CODESYS ในการออกแบบโปรแกรมรวมถึงรองรับ OPC UA ซึ่งราคาก็เป็นรุ่นที่แพงที่สุดเช่นกัน โดย WECON ได้วาง PLC LX6 Series เป็น PLC Modular Type ระดับ Enterprise เหมาะสำหรับงานควบคุม Process plant automation ระดับ 500-1000 I/O ขึ้นไป มีโปรโตคอล EtherCAT ที่มีความรวดเร็วและหยืดหยุ่นในการสื่อสารรวมถึงวางโครงข่ายร่วมกับ Remote I/O , Devices , Controller Third Party ต่างๆ ซึ่งในบทความต่อไปเราจะมาเจาะลึกในรายละเอียดของ PLC LX6C โดยเฉพาะ
 
 
 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วผู้อ่านก็คงจะเข้าใจถึง PLC WECON แต่ละรุ่น ณ ปัจจุบันและสามารถที่จะพอเลือกใช้งานกันเองได้แล้ว โดยรหัสและรุ่นโมเดลการสั่งซื้อต่างๆ เราจะมาอธิบายเพิ่มเติมในบทความต่อไป
 
ที่มา :  https://www.we-con.com.cn/en/
 
ผู้เขียน :  Anakin
บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของทางบริษัท อีเอสโอ เทค จำกัด
  
 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จาก WECON ได้ที่

   Line Official Account : @eso.co.th

   Email : info@eso.co.th

   Facebook : facebook.com/eso.co.th

   Telephone : 097-253-2728 , 097-275-2279

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้