ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของจอ HMI WECON จากอดีตถึงปัจจุบัน

Last updated: 6 ม.ค. 2568  |  53 จำนวนผู้เข้าชม  | 

History of WECON HMI Article

 

ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของจอ HMI WECON จากอดีตถึงปัจจุบัน

บทความนี้เราจะมากล่าวถึง WECON HMI ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาการต่างๆ ซึ่ง HMI WECON มีการผลิตขึ้นมามากมายหลากหลายซีรี่ย์ วันนี้เราจะมาช่วยสรุปให้ว่า WECON HMI มีกี่รุ่นและแต่ละรุ่นมีความแตกต่างและการใช้งานอย่างไรบ้าง โดยเราจะแบ่งเป็นยุคต้นดั้งเดิม กับยุคปัจจุบันเพื่อให้ผู้อ่านได้ไล่เรียงและทำความเข้าใจตามลำดับ

 

สำหรับท่านที่เป็นมือใหม่หรือไม่เคยใช้งาน HMI มาก่อนก็จะขอเกริ่นคร่าวๆ เพื่อให้พอเข้าใจการใช้งาน โดย HMI ย่อมาจาก Human Machine Interface โดยเป็นจอควบคุมและแสดงผลที่มักจะติดมากับเครื่องจักรเพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารสั่งงานกับเครื่องจักรต่างๆ โดยมีการใช้งานมาอย่างยาวนานควบคู่กับ PLC Controller เพราะในยุคแรกถ้าหากไม่มีหหน้าจอ HMI ก็อาจจะมีปุ่มควบคุมสั่งงานต่างๆ มากมายที่หน้าตู้ควบคุม ในยุคหลังเครื่องจักรมีความซับซ้อนอย่างมากในการควบคุมและสั่งงานจึงจำเป็นจะต้องมี HMI ในการป้อนค่าพารามิเตอร์ของเครื่อง หรือให้ผู้ควบคุมเครื่องสั่งงานผ่านหน้าจอ HMI แทน

ก่อนอื่นก็จะมาขอไล่เรียง Timeline การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทาง WECON TECHNOLOGY ว่ามีการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาเป็นลำดับอย่างไร

ภาพแสดง timeline การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ WECON

 

จากภาพเราจะเห็นได้ว่า WECON TECHNOLOGY ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 และผลิตภัณฑ์แรกที่ WECON พัฒนาคือ HMI นั่นเอง!! โดยเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ก่อตั้งและเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2011 โดย HMI Series แรกสุดเลยคือ LEVI Series และหลังจากนั้นก็ได้เปิดตัว PLC LX Series เป็นลำดับถัดไปในปี ค.ศ. 2012 หากเราจะโฟกัสเฉพาะ HMI ในปี ค.ศ. 2015 WECON ได้เปิดตัว HMI Series ใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งซีรี่ย์คือ PI Series ซึ่งผมจะเรียก HMI PI Series ที่เปิดตัวในปี 2015 ว่าเป็น PI Series Gen1 ยุคต้นก็แล้วกันเพื่อให้แยกแยะได้ง่าย และในปี ค.ศ. 2020 ก็ได้มีการเปิดตัว IoT HMI แต่ยังเป็น PI Series ผมจะเรียกว่าเป็น PI Series Gen2 ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดและฟังก์ชั่นที่แตกต่างเดียวเราจะมาไล่เรียงกัน

 

 

LEVI SERIES (2011)  เรามาเริ่มกันที่ LEVI ซีรี่ย์ ซึ่งนับว่ากลายเป็นจอในตำนานไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบัน(2024) ยกเลิกการผลิตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจอ HMI LEVI SERIES นั้นทาง WECON เองได้พัฒนามาใช้งานในอุตสาหกรรมและสำหรับติดตั้งควบคุมเครื่องจักร มีราคาค่อนข้างถูกมาก ประมาณ 2,xxx - 6,xxx บาทเท่านั้นเองเน้นจำหน่ายให้กับบริษัท โรงงานที่ผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติในจำนวนมากๆ ลักษณะบอดี้จะเป็นพลาสติกสีดำ แต่ CPU และ Hardware memory ต่างๆ ยังถือว่าไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก เน้นไปที่การใช้งานและราคาที่ถูก แต่ยังมี Serial Port รองรับทั้ง RS485/422/232 แต่ก่อนก็จะทำ DB9 แยกเป็น2พอร์ตในรุ่น 7 นิ้วขึ้นไป โดย LEVI SERIES นั้นมีหน้าจอรองรับขนาดตั้งแต่ 3.5 / 4.3 / 7 / 10.2 นิ้ว

 

LEVI Series จะใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า LEVI Studio ในการออกแบบซึ่งก็ยังออกแบบให้สวยงามอะไรมากไม่ได้นักเป็นสไตล์ Classic HMI ดั้งเดิมสั่งงานเครื่องจักรเน้นไปที่ Text , Lamp , Switch ซึ่งรูปภาพก็รองรับแค่ JPG ยังไม่รองรับไฟล์ PNG ด้วย เนื่องจากตัว CPU หน่วยประมวลผลไม่ได้แรงมากนัก และ Memory ที่ให้มาอยู่ราวๆ 128 -256 MB เท่านั้น  แต่ก็ถือว่า LEVI SERIES เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา HMI WECON รวมไปถึงได้ฝัง DNA ของ HMI WECON ไว้ตั้งแต่แรกเริ่มไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคุ้มค่ากับราคา ความทนทาน ความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สามารถสื่อสารกับ PLC แบรนด์หลักๆ ในท้องตลาดได้

 

 

PI SERIES Gen1 (2015)  ถัดมาจะเป็น PI ซีรี่ย์ซึ่ง WECON ได้ปรับเปลี่ยนอะไรหลายอย่าง และเป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้เรียนรู้และรู้จักการใช้งาน HMI WECON อย่างจริงจัง เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอุปกรณ์ IoT และแพลตฟอร์มต่างๆ ของทาง WECON ด้วย เรามาดูกันว่ายุคต้นนั้นเป็นอย่างไร

จอ HMI PI Series ยุดแรกนั้นจะมีสามซีรี่ย์หลักคือ PI3000 / PI8000 / PI9000 Series  

โดย PI3000 / PI8000 Series ถูกวางมาให้ใช้งานทดแทน LEVI Series ซึ่งตัวบอดี้จะเป็นสีเทาทำจากพลาสติกเช่นกัน จะถึกบึกบึนหน่อย มีน้ำหนักประมาณหนึ่ง มีการปรับ CPU และ Memory ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า LEVI Series แล้ว โดยปรับการออกแบบสถาปัตยกรรมของบอร์ดวงจรใหม่ทั้งหมด มีการนำ Chip CPU Cortex มาใช้กันแล้วซึ่งความเร็วของ PI3000 / PI8000 Series จะอยู่ที่ 600mHz และปรับขนาดของ memory ทั้ง Flash และ RAM เพิ่มขึ้น โดยความแตกต่างนั้น PI3000 Series จะมี Memory Flash และ RAM ที่น้อยกว่า PI8000 Series ซึ่งแน่นอนว่าราคาก็ถูกกว่าด้วย

 

HMI PI3000/8000 Series version 2015

 

โดย PI Series ที่พัฒนามาใหม่นี้ก็มาพร้อมกับ ซอฟท์แวร์ออกแบบโปรแกรม HMI รุ่นใหม่ด้วยที่มีชื่อเรียกว่า PI Studio นั่นเอง!!! ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นที่เยอะกว่า การตั้งค่า UI ต่างๆง่ายกว่าเดิม รวมทั้งรองรับภาพแบบ PNG แล้วทำให้ออกแบบหน้าตาอินเตเรอ์เฟสโปรแกรมได้สวยและดูดีขึ้นกว่าเดิม

PI3000 / PI8000 Series มีขนาดหน้าจอเริ่มต้นตั้งแต่ 7 / 10.2 / 10.4 นิ้ว และมีรุ่นรหัสย่อยแยกไปอีกมากมายซึ่งเป็นการแยกและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไปเช่นการสื่อสาร CAN เป็นต้น

 

PI9000 Series ซีรี่ย์นี้ได้เปิดตัวพร้อมกันซึ่งถูกวางมาให้เป็น Series Top สุด ณ ขณะนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพ Performance Hardware ที่ใช้ CPU Cortex A9 ความแรงถึง 1.4 GHz เป็นซีรี่ย์แรกที่ทำความเร็ว CPU แตะหลัก GHz ด้วยเหตุผลที่ซีรี่ย์นี้จะทำออกมาเพียงแค่สองโมเดลคือ PI9120 ขนาด 12 นิ้ว และ PI9150 ขนาด 15 นิ้ว จะสังเกตได้ว่าเป็นจอดิสเพลย์แสดงผลขนาดใหญ่สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติทางด้านฮาร์ดแวร์ที่พิเศษและประสิทธิภาพสูง

วัสดุจะแตกต่างกับรุ่นที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดคือ ตัวบอดี้จะทำจากอลูมิเนียมอัลลอยสีเงินให้ความรู้สึก Luxury คุณภาพดีและสวยงามมากๆ อีกทั้งดีไซน์ตัวจอบางพอดีไม่หนามากได้ Resolution แบบ Full HD 1920x1080 pixels สีของจอสว่างคมชัดอย่างมาก

 

จุดเริ่มต้นของจอ HMI IoT แบรนด์ WECON

ความพิเศษของจอ HMI รุ่น PI8000 / PI9000 Series คือสามารถรีโมตหน้าจอผ่านคลาวด์ได้ด้วยซึ่งตอนสั่งซื้อจะลงท้ายด้วยรหัส -R (Remote Version) นี่เป็นจุดเริ่มต้นและจุดกำเนิดเลยก็ว่าได้ในการพัฒนา HMI ให้เข้ากับยุคสมัย IoT ซึ่งในยุคนั้นก็นับว่าเป็นของใหม่มาแรงและเป็นยุคเฟื่องฟูที่ IoT กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ และ WECON คือเจ้าแรกๆ เลยก็ว่าได้ที่ทำ HMI ที่สามารถรีโมทผ่านระบบคลาวด์ได้ โดยมีการวาง Infrastructure และระบบคลาวด์พัฒนาเป็นของตัวเอง เราไม่นับรวม HMI หรือ PC Panel ที่ใช้การรีโมทผ่านโปรแกรม VNC หรือ Remote desktop program ซึ่งระบบนี้นั้นมีมาก่อนแล้วแต่มีข้อจำกัดหลายอย่างในการใช้งานในเรื่องของการ Configuration network ที่อาจจะต้องทำ Public IP ต่างๆ บลาๆ หรือติดตั้งโปรแกรมต่างๆ นาๆ

แต่ WECON เองไม่ได้ทำในรูปแบบนั้นแต่ใช้ Framework อีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า B/S Framework (Browser to server) ซึ่ง Base on HTML5 เป็นหลักและมีการพัฒนาเซิฟเวอร์ตัวเองควบคู่กัน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีการพัฒนา V-Box IoT gateway นะ เรียกว่าระบบ V-NET Platform ยังไม่เกิดเลยดีกว่า ฮ่าๆ

ระบบ Remote cloud HMI ของ WECON ในยุคแรกจะมีการ Generate account ซึ่งสามารถสมัครเองได้ซึ่งแต่ก่อนใช้เป็น Point ด้วยนะ จะ add hmi เข้า Account จะต้องมีแต้มเครดิตซึ่งเมื่อเราสั่งซื้อ HMI เขาก็จะ Generate แต้มให้นี่แหละก็เหมือนกับใช้ฟรี !! มาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว แต่ตัวแทนจำหน่ายก็จะเป็นคนจัดการให้แค่แจ้ง email account แล้วจอ HMI แต่ละจอจะมี Machine ID ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับ Add เข้าระบบคลาวด์เพื่อ Register จะเห็นว่ามันถูกออกแบบมาในรูปแบบ IoT Platform มากกว่าจะเป็น Remote desktop program และแอพพลิเคชั่นก็รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android 

 

โบว์ชัวร์โปรโมต WECON Remote HMI สมัยปี 2015

 

และ Mobile Application แรกนี้ก็มีชื่อว่า " WECON SMART " นั่นเองงงง โดย Application นี้ก็จะเป็น APP แรกเลยของทาง WECON ที่พัฒนามาสำหรับใช้งานในรูปแบบของ IoT HMI เต็มรูปแบบ ผู้ใช้งานสามารถที่จะทำการเพิ่มอุปกรณ์ได้ รีโมทสั่งงาน HMI ได้ผ่านทั้ง Mobile APP และ Web browser ผ่านทาง URL www.weconcloud.com ซึ่งปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการอยู่นะสำหรับผู้ใช้งานเดิมที่ยังใช้อยู่เพราะจอ WECON อย่างที่กล่าวไปค่อนข้างทนมากๆ แต่ก็จะไม่ได้พัฒนาฟีเจอร์อื่นๆ อะไรเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งทาง WECON ก็หันไปพัฒนา Platform V-NET แทน

 

 

ปัจจุบัน WECON HMI PI3000 Series นั้นได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแล้วดังนั้นก็จะไม่มี PI3000 Series ที่เป็นบอดี้สีเทาแล้ว และในส่วนของ PI8000 Series นั้นก็ยังเหลือจำหน่ายเฉพาะรุ่นพิเศษบางรุ่นเท่านั้นที่เป็นบอดี้แบบดั้งเดิม คือ PI8070 และ PI8102H ที่สามารถ Option protocol สื่อสารในรูปแบบ CAN ได้ และในส่วนของ PI9000 Series นั้นก็ยุติการผลิตแต่ได้เปลี่ยนรูปแบบและซีรี่ย์ใหม่แทน ซึ่งจะกล่าวต่อไป

 

 

PI SERIES Gen2 (2020-2021) มาถึง PI Series ยุคล่าสุดนี้ซึ่งก่อนจะมาเป็นยุคนี้ผู้เขียนจำได้ว่าช่วงนั้นจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทั้งในเรื่องของโรคระบาด COVID-19 และสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาที่ทวีความรุนแรง ปัญหาเรื่องของ Supply Chain การผลิตชิปประมวลผลต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบกันหมด มี leadtime การส่งที่ค่อนข้างนานในบางรุ่น และ HMI PI Series Gen1 นั้นยังถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมเก่าและยังพึ่งพาชิ้นส่วนบางอย่างจากต่างประเทศอยู่

ดังนั้นทาง WECON เองจึงได้ออกแบบใหม่ทั้งดีไซน์และฮาร์ดแวร์ซึ่งจะเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ให้ดูโฉบเฉี่ยวสวยงามมากขึ้น ตัวบอดี้ของจอจะเป็นสีเทาขาวคลิบด้วยสีเขียวเทาเข้ม รวมไปถึงชิ้นส่วนภายในต่างๆ ที่ใช้การผลิตชิ้นส่วนเองและจากผู้ผลิตในประเทศทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะมีเหตุการ์ณอะไรเกิดขึ้น WECON HMI จะยังรองรับการใช้งานและสามารถสั่งซื้อทดแทนได้อย่างแน่นอนในอนาคต สบายใจหายห่วง

WECON HMI PI Series Gen 2 ที่มีการออกแบบดีไซน์ใหม่

 

 

ซึ่ง PI Series Gen ล่าสุดนี้มีซีรี่ย์อะไรบ้างเรามาไล่เรียงกัน ซึ่งจะแตกออกเป็น 4 ซีรี่ย์หลักคือ PI3000i , PI3000ie , PI3000ig , PI8000ig Series และรุ่นย่อยคือ Window CE ระบบปฏิบัติการพิเศษซึ่ง Custom ให้กับผู้ใช้งานและ SI บางรายที่นำไปใช้พัฒนาซอฟท์แวร์ดั้งเดิมที่ต้องใช้ OS Window CE ในการ Run ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง

 

 

  PI3000i Series  เป็นรุ่นที่ทำมาทดแทน LEVI Series และ PI3000 Series Gen 1 ราคาถูกเน้นใช้งานทั่วไปคือฟังก์ชั่นแบบ Basic มากๆ มีให้เลือก 2 ขนาดคือ 7 นิ้วและ 10.2 นิ้วเท่านั้น และมีรุ่นย่อยคือการ Custom Serial port และ Protocol ต่างๆ ที่แตกต่างกันไป

 

 

 PI3000ie Series  จริงๆ แล้วรุ่นนี้ทางด้านดีไซน์ไม่ได้แตกต่างกันมากนักกับ PI3000i Series แต่ซีรี่ย์นี้มีการพัฒนาฟีเจอร์เพิ่มเติมมาอีกมาก และมีการปรับปรุงฮาร์ดแวร์และเฟริมแวร์ที่มีความเร็วและการตอบสนองที่ดีกว่ารุ่น PI3000i Series มี Interface communication serial port พื้นฐานที่มากกว่า และที่สำคัญคือสามารถใช้งาน Lua Script ได้ซึ่งทำให้การออกแบบโปรแกรมฟีเจอร์และทำเงื่อนไขบางอย่างของหน้าจอมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถจัดการที่จอ HMI โดยไม่ต้องพึ่ง PLC ได้เลย  

มีขนาดหน้าจอรองรับตั้งแต่ 3.5 / 4.3 / 7 / 10.2 นิ้ว รุ่นนี้ราคาก็คือถูกเลยถ้าเทียบกับ Performance ที่ได้ ยังมีความทนทานตามสไตล์ DNA ของ WECON เช่นเคย และทาง WECON เองก็แนะนำรุ่นนี้แหละเป็นรุ่นราคาประหยัดจับต้องได้ง่ายสำหรับลูกค้ากลุ่ม Machine Maker ผู้ผลิตระบบหรือเครื่องจักรอัตโนมัติที่ใช้จอ HMI เป็นประจำว่าคุ้มค่าแน่นอน

 

 

 PI3000ig Series (IIoT HMI) มาถึงรุ่นที่รอคอย IoT HMI Gen2 ที่ถูกพัฒนาขึ้น หลังจาก WECON หยุดการพัฒนาระบบรีโมท HMI ได้ไปสักระยะ  ก็มีการพัฒนา V-Box IoT Gateway ขึ้น และพัฒนาระบบ V-NET ตามมาซึ่งอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้า ยุคก่อนนั้น V-Box และ HMI ใช้ APP แยกและแบ่งแยกระบบกันอย่างชัดเจน นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ WECON ได้พัฒนา HMI PI Series Gen2 ขึ้นเพราะต้องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมและวางโครงสร้างให้ HMI PI Series intregrated รวมเข้าไปกับ V-NET Platform ได้ !!!!!!

 

 

ส่วนตัวผู้เขียนเองมองว่าเป็นวิธีที่น่าทึ่งและยอดเยี่ยมมากและตอนนั้นก็ไม่คิดมาก่อนว่า WECON จะเอา HMI และ V-Box มารวมกันบน Service เดียวกันได้ซึ่งก็คิดว่าน่าจะยังไม่มีที่ไหนมี หรือ ณ ปัจจุบันอาจจะมีแล้วก็ได้ ซึ่งข้อนี้ทำให้ผู้ใช้งานง่ายขึ้นเพราะ Cloud Remote ของเดิมที่ใช้งานกับ PI3000 และ PI8000 Gen 1 ก็ยังมีข้อจำกัดและคิดว่าทาง WECON ก็อาจจะติดข้อจำกัดหลายๆอย่างที่ทำให้พัฒนาต่อไปไม่ได้ โดยจอ PI Series Gen2 ก็จะใช้ Mobile Application V-NET ตัวเดียวกับ V-Box เลยในการใช้งาน รวมไปถึง URL Web Cloud Service ก็ใช้ตัวเดียวกันแล้ว

 

 

และระบบ V-NET ที่ใช้กับ V-Box ก็มีข้อดีหลายอย่างถูกออกแบบ Platform มาได้ครบถ้วนยืดหยุ่นตอบสนองต่อการใช้งานและโลกของ IoT หลายอย่าง เมื่อนำมารวมกันบนระบบเดียวได้ประโยชน์สูงสุดจึงเกิดกับผู้ใช้งานอย่างเราๆแน่นอน อีกทั้งจอ HMI รองรับ MQTT Protocol และ Lua Script อีกด้วย

หากใครที่มองหา HMI ที่นอกจากจะควบคุมสั่งงานเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตอัตโนมัติได้แล้วยังสามารถใช้งานฟีเจอร์ IoT บนระบบ V-NET Platform ได้อีกก็สามารถเริ่มที่รุ่น PI3000ig Series นี้ได้เลย โดยจะมีขนาดหน้าจอรองรับเพียงสองขนาดเท่านั้นคือ 7 นิ้วและ 10.2 นิ้ว

 

 PI8000ig Series (IIoT HMI)  ท็อบซีรี่ย์สุด ณ ปัจจุบันโดยทาง WECON ได้พัฒนาซีรี่ย์นี้มาเป็นซีรี่ย์ Flagship ของทาง WECON เพื่อทำมาทดแทน PI8000/PI9000 Series เดิม ซึ่งรุ่นนี้ฟีเจอร์ของ IoT HMI จะเหมือนกันกับ PI3000ig Series แต่ว่า Tag ที่จะ Config ขึ้นระบบ V-NET จะสูงกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น PI3000ig Series Realtime tag V-NET = 100 tags แต่ PI8000ig Series = 300 tags 

 


และ PI8000ig Series ยังได้นำรุ่นหน้าจอขนาด 12 นิ้วซึ่งห่างหายจากการพัฒนาไปพักใหญ่ รวมไปถึงท็อบสุดอย่างขนาดหน้าจอ 15 นิ้วที่ตัวบอดี้เป็นอลูมิเนียมอัลลอยด์ดีไซน์เดิมเหมือนกันกับ PI9120 และ PI9150 กลับมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อทดแทนไลน์ผลิตภัณฑืขนาดหน้าจอ 12/15 นิ้ว ก็เท่ากับว่ารุ่น PI8000ig Series นั้นจะมีขนาดหน้าจอรองรับตั้งแต่ขนาด 4.3 / 7 / 10 / 12 /15 นิ้ว ครบทุกขนาดในซีรี่ย์เดียว


 

การมาครั้งนี้ของ PI8000ig Series นับว่าไม่ธรรมดาเรียกว่าใส่อาวุธมาครบชุดสำหรับให้ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์ใหม่กับการใช้งาน HMI  ซึ่งข้อแตกต่างอีกอย่างของ PI8000ig Series ที่มากกว่า PI3000ig Series ก็คือด้านฮาร์ดแวร์ที่ CPU หน่วยประมวลผลกับ Memory RAM และ Flash ที่สูงขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในปัจจุบัน HMI WECON ทั้งหมดความเร็วของ CPU ก็ระดับ GHz ขึ้นหมดแล้วจะสังเกตได้ว่าตั้งแต่ Levi Series ที่ความเร็ว CPU เพียงไม่กี่ร้อย MHz ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีการพัฒนาทางด้านฮาร์ดแวร์ของ WECON HMI ก็พัฒนาไปอย่างมาก

อีกทั้ง PI8000ig Series นั้นมีการพัฒนาฟีเจอร์เล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายอาทิเช่น 2 Ethernet Port ซึ่งมีทั้งแบบเป็น Port แบบ Ethernet Switch 2 ช่อง กับรุ่นที่เป็นแบบ Dual Interface Ethernet channel อย่าง PI8150 (NWG) ที่แยกเครือข่าย Ethernet ของทั้งสองพอร์ตได้เลย และรุ่นใหม่ๆก็เป็น Port USB Type C ทดแทน USB A แบบเดิมด้วย

อีกสิ่งหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ Communication Interface เมื่อ HMI สามารถเชื่อมต่อผ่าน V-NET Cloud หน้าจอ HMI PI3000ig / PI8000ig Series นั้นรองรับการสื่อสารเชื่อมต่อด้วย WIFI และ Sim Card 4G LTE ได้อีกด้วย ผู้ใช้งานสามารถระบุสั่งได้หากต้องการรูปแบบการสื่อสารด้วย WIFI หรือ Sim Card 4G LTE

ส่วนประกอบต่างๆ ของ HMI WECON 

 

นี่ก็ความเป็นมาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของจักรวาล WECON HMI ทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (01/2025) ซึ่งยังมีรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ อีกมากมายแต่บทความนี้อาจจะอธิบายให้ผู้ที่สนใจไว้ประมาณนี้ ให้ได้เห็นภาพและแนวทางการใช้งาน ของ WECON HMI แต่ละรุ่นให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา ไว้จะเล่าแตกรายละเอียดต่างๆ ไปในบทความอื่นๆ อีกที รอติดตามกันได้เลย

 

หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ และมีความสนใจต้องการปรึกษาท่านสามารถติดต่อทีมงาน Technical Support ของทางบริษัท อีเอสโอ เทค จำกัด ได้ทันทีจากรายละเอียดติดต่อที่อยู่ด้านล่าง

ท่านสามารถดูข้อมูล WECON HMI รุ่นต่างๆ ได้จากที่นี่

 https://www.eso.co.th/weconhmi

 

ผู้เขียน :  Anakin
บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของทางบริษัท อีเอสโอ เทค จำกัด
 

หากท่านสนใจสินค้าและบริการท่านสามารถติดต่อเราได้ที่
บริษัท อีเอสโอ เทค จำกัด ตัวแทนจำหน่ายสินค้า WECON

   Line Official Account : @eso.co.th

   Email : info@eso.co.th

   Facebook : facebook.com/eso.co.th

   Telephone : 097-253-2728 , 097-275-2279

  Instagram : https://www.instagram.com/eso.co.th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้